เหรียญทองคำ บรรพบุรุษของการสะสมทองคำแท่งที่มีมาตั้งแต่ยุคโบราณ

Welcome to WordPress. This is your first post. Edit or delete it, then start writing!

  • เหรียญทองคำ ปรากฏขึ้นแทบจะในทุกวัฒนธรรมโบราณของโลก ด้วยเหตุของการเป็น “ต้นทุน” สำหรับการเก็บสะสมของผู้มั่งคั่ง และมีหลักฐานความนิยมในหมู่ประชาชนของแต่ละวัฒนธรรมว่า เหรียญทองคำคือสินทรัพย์ที่เก็บสะสมเพื่อความมั่นคงในชีวิต เช่น การตั้งใจกลบฝั่งเหรียญทองไว้ เพื่อจะกลับมาขุดไปในภายหน้า
  • แม้แต่ในคาบสมุทรมลายู ตลอดวัฒนธรรมโบราณภาคพื้นทวีปของแผ่นดินสุวรรณภูมิบ้านเรา ก็มีหลักฐานการผลิตเหรียญทองขึ้นมาใช้ตั้งแต่ยุคโบราณ กระทั่งในยุคปัจจุบันนี้ ก็ยังมีการจัดทำเหรียญที่ระลึกในวาระสำคัญจากทองคำโดยกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ที่ใช้เป็นทั้ง “ของสะสม” และ “สินทรัพย์” อีกด้วย

วันนี้เจ๊จะมาเล่าเรื่องนักสะสม เหรียญทองคำ รุ่นบรรพบุรษให้ได้ทราบกัน เผื่อใครอยากเป็นเศรษฐีเพราะมีทองกันได้เลยจ้า ในภาวะวิกฤตแบบนี้นะ จะได้มีข้อมูลเกี่ยวกับทองคำที่เป็น “สินทรัพย์เพื่อความมั่นคง” ซึ่งเหรียญทองคำในสมัยนั้นถ้าให้เปรียบเข้าใจง่ายก็คือจัดอยู่ในทองคำประเภท “ทองคำแท่ง” ค่ะคุณขา รู้หรือไม่ว่าการสะสมทองคำแท่งนี่มีตั้งแต่สมัยโบราณนานพอกับพระเจ้าเหา เอาว่าตั้งแต่มีมนุษย์และวัฒนธรรมเกิดขึ้นเลยนั่นแหละจ๊ะ เพราะคนสมัยโบราณนั้น เค้ามีความนิยมเก็บ “เหรียญทองคำ” ไว้เพื่อเป็นต้นทุน ก่อนที่เจ้าเหรียญทองคำนี่แหละ จะพัฒนากลายเป็นความนิยมเก็บสะสมทองคำแท่งในยุคปัจจุบัน 

เหรียญทองคำ

ตั้งแต่การค้นพบทองคำครั้งแรกสุด ที่มีหลักฐานในขณะนี้ว่าพบทางแถบแอฟริกาตะวันออก โดยเฉพาะในอียิปต์โบราณที่มีข้างของเครื่องใช้ทองคำปรากฏตั้งแต่ 4,000 ปีก่อนศริสตกาล ตามมาด้วยการค้นพบที่ประเทศมาเซโดเนีย อิตาลี ฝรั่งเศส สเปน สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย เรื่อยมาจนมาถึงยุคตื่นทองหลังค้นพบทวีปอเมริกา ทองคำยังอยู่ในสถานะเงินตราที่มีค่าสูงสุด และเป็นโลหะชนิดเดียวที่ได้รับการยอมรับในทุกวัฒนธรรมโบราณ

เหรียญทองคำของชาวโรมันโบราณ

 ถ้าพูดถึงกระแสวัฒนธรรมตะวันตกแล้ว จะไม่พูดถึงชาวโรมันคงเป็นไปไม่ได้ เพราะโรมันนี่แหละจ้า คือรากฐานทางวัฒนธรรมตะวันตกอย่างอารยชนในยุคต่อ ๆ มา ความเจริญรุ่งเรืองของโรมนั้นเจ๊คงไม่ต้องพูดถึงแล้ว แค่ประโยค “ถนนทุกสายมุ่งสู่โรม” ก็ชัดเจนแล้วจ้า และแน่นอนในวัฒนธรรมโรมันก็มีการนำทองมาใช้ประโยชน์ทั้งในแง่ของเครื่องประดับตกแต่ง เครื่องประกอบพิธีกรรม แต่วัตถุทองคำที่แพร่หลายมากที่สุด เข้าถึงคนทุกชนชั้นวรรณะได้ง่ายที่สุดก็คือ “เหรียญทองคำโรมันโบราณ” ซึ่งเหรียญทองคำโรมันนี่เค้าก็ไม่ได้มาเล่น ๆ นะจ๊ะ เพราะไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในวัฒนธรรมโรมันเท่านั้น แต่ปรากฏหลักฐานเหรียญทองคำโรมันโบราณไปทั่วทุกพื้นที่ในแทยจะทุกวัฒนธรรมโบราณเลยจ้า

และหลักฐานที่ชัดที่สุดว่าชาวโรมันมีการเก็บสะสมเหรียญทองคำไว้เป็นสินทรัพย์เพื่อความมั่นคงก็คือ ในปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา อิตาลีได้ขุดพบเหรียญทองคำโบราณกว่า 300 เหรียญ มีอายุราว 1,500 ปี ย้อนกลับไปในยุคที่อิตาลียังคงเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน บรรจุอยู่ภายในภาชนะที่เรียกว่า “อัมฟอรา” ภาชนะคล้ายขวดหรือโถที่มีหูจับ 2 ข้าง ซึ่งชาวโรมันโบราณใช้ในการบรรจุของเหลวต่าง ๆ ตั้งแต่ ไวน์ ไปจนถึงน้ำมันมะกอก สำหรับการขนย้าย ซึ่งคาดกันว่าผู้ที่ซุกซ่อนไว้คงตั้งใจกลับมาเก็บคืนไปในภายหลัง

เหรียญทองคำอาหรับโบราณ

เหรียญทองคำ

ถัดมาสำหรับวัฒนธรรมชาวอาหรับโบราณ ก็ไม่น้อยหน้าเมื่อมีร่องรอยของเหรียญทองคำอาหรับโบราณปรากฏอยู่โดยรอบพื้นที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยเฉพาะเหตุการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2558 เมื่อนักประดาน้ำอิสราเอลพบเหรียญทองคำโบราณครั้งใหญ่ ด้วยจำนวนกว่า 200 เหรียญ มีน้ำหนักรวมกันถึง 9 กิโลกรัม นอกชายฝั่งเมืองเคซารีเมืองท่าโบราณ ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน 

จากการตรวจสอบทางโบราณคดีนั้น พบว่าเหรียญส่วนใหญ่เป็นเหรียญทองคำซึ่งมีมูลค่าของเงินแตกต่างกันไป อยู่ในสมัยราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์ (ฟาติมียะห์) แห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์ ที่ครองอาณาเขตส่วนใหญ่ของตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือระหว่างปีพ.ศ.1452-1714 (ค.ศ. 909 – ค.ศ. 1171) นั่นหมายความว่าเหรียญทองคำเหล่านี้ มีอายุกว่า 1,000 ปี และ “ไม่สามารถประเมินค่าได้” เลยนะจ๊ะ

หน่วยโบราณคดีทางทะเลของสำนักโบราณวัตถุอิสราเอล ให้ความเห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่เรือขนเงินเหล่านี้อาจอับปางในบริเวณดังกล่าวระหว่างเดินทางไปอียิปต์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของรัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์ในขณะนั้น พร้อมกับเงินภาษีที่เก็บรวบรวมได้ หรืออาจจะเป็นเงินที่นำมาจ่ายเงินเดือนทหารรักษาการณ์ของกองทัพราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์ ก็เป็นได้

แล้วก็สด ๆ ร้อน ๆ เมื่อไม่นานมานี้ ในช่วงสิงหาคมของปี 2563 ที่ผ่านมา ก็ได้มีการค้นพบเหรียญทองคำอาหรับครั้งใหญ่ในอิสราเอลอีกครั้ง หลังกลุ่มวัยรุ่น ได้เข้าไปช่วยกันขุดดินเพื่อแผ้วถางพื้นที่ เพื่อเตรียมปลูกสร้างที่พักอาศัย จนไปพบเหรียญทองคำจำนวนมากถูกซ่อนไว้ในโถดินเผา เป็นเหรียญทองคำบริสุทธิ์ 24 กะรัต จำนวน 425 เหรียญ คาดว่าน่าจะเป็นเหรียญในยุคราชวงศ์อับบาสิด ผู้สืบทอดจักรวรรดิอิสลามในแถบตะวันออกกลาง อายุราว 1,100 ปี ย้อนไปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซึ่งเป็นช่วงอายุของเหรียญทองคำที่ใกล้เคียงกันกับเหรียญทองคำที่ค้นพบนอกชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ซึ่งถ้าเทียบช่วงอายุของเหรียญทองคำอาหรับโบราณที่ค้นพบเหล่านี้แล้ว ก็จะตรงกับพุทธศตวรรษที่ 15 ร่วมสมัยเมืองพระนครของจักรวรรดิเขมร  อาณาจักรศรีวิชัยทางคาบสมุทรมลายู และช่วงปลายของวัฒนธรรมทวารวดีในดินแดนประเทศไทยเรานั่นเองจ้า

เหรียญทองในอาณาจักรโบราณของไทย

เหรียญทองคำ

เกริ่นความร่วมสมัย (โน้น) มาซะขนาดนี้ ถ้าจะไม่พามาชมเหรียญทองคำในวัฒธรรมโบราณของดินแดนแถบสุววรณภูมิ หรืออาณาเขตประเทศไทยในปัจจุบันก็คงไม่ได้แล้วจ้า บอกเลยว่าทางบ้านเราก็ไม่น้อยหน้า เพราะในวัฒนธรรมทวารวดีก็มีปรากฏการใช้เหรียญทองคำกันแล้ว

หรือย้อนไปถึง “เงินตราปัตตานี” ของนครรัฐ “ลังกาสุกะ” ในวัฒนธรรมคาบสมุทรมลายูทางภาคใต้ของเมืองไทยเรา ซึ่งเริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 รุ่งเรืองยาวนานถึง 1,400 ปี ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวหมู่บ้านกาแลจิน อ.เมืองปัตตานีโดยบริเวณเมืองปัตตานีนั้น เคยเป็นศูนย์กลางอำนาจของลังกาสุกะมาก่อน จึงมีความเจริญจากการค้ากับต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยอยุธยา ได้มีการผลิตเหรียญทองขึ้นใช้เรียกว่า “เหรียญคูปัง” มีขนาด 9-10 มิลลิเมตร แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ได้แก่

เหรียญวัว เป็นเหรียญทอง ด้านหนึ่งเป็นรูปวัว เพราะเมืองปัตตานีมีตราประจำเมืองเป็นรูปวัว ซึ่งใช้มาตั้งแต่ครั้งปัตตานีเป็นหนึ่งในเมืองนักษัตรของแคว้นนครศรีธรรมราช ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นอักษรอารบิก อ่านว่า “มาริดอัลอาดีล” หมายถึง รายาผู้ยุติธรรม 

หรียญพระอาทิตย์ เรียกกันว่า “เหรียญดินาร์มาตาฮารี” เป็นเหรียญทอง ด้านหนึ่งเป็นรูปพระอาทิตย์ มีรัศมี 4 – 8 เส้น คล้ายรูปดอกไม้ อีกด้านหนึ่งมีอักษรอารบิก ที่มีข้อความเหมือนกับเหรียญวัว

เหรียญอักษรอารบิก เป็นเหรียญทองที่มีชื่อรายาผู้ครองนครด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งมีอักษรอารบิก ที่มีข้อความเหมือนกับเหรียญวัว

นอกจากเงินตราปัตตานีแล้ว “เงินตราศรีวิชัย” ก็เป็นอีกหนึ่งหลักฐานการสะสมและใช้เหรียญทองคำในวัฒนธรรมโบราณของคาบสมุทรภาคใต้ เพราะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 ที่นับเป็นยุคทองของการค้าทางทะเล ส่งผลให้เมืองที่อยู่บนคาบสมุทรสุวรรณภูมิ ได้แก่ ไชยา และนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นตลาดกลางของสินค้าจากทางฝั่งตะวันตก คือ ทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง และอินเดีย และสินค้าจากทางฝั่งตะวันออก คือจีน ขอม ทวารวดี คึกขึ้นขึ้นมาจนในที่สุดดินแดนแถบนี้จนถึงเกาะสุมาตราได้รวมตัวกันเป็นอาณาจักรศรีวิชัย ประกาศใช้เงินตราที่ใช้ทำด้วยเงินและทองคำ มี 2 ชนิด คือ “เงินดอกจัน” ด้านหนึ่งมีลวดลายเป็นรูปสี่แฉกคล้ายดอกจัน อีกด้านหนึ่งมีอักษรสันสกฤตว่า “วร” แปลว่า “ประเสริฐ” เงินตราอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “เงินนโม” ด้านหนึ่งมีร่องเล็ก  ๆ คล้ายเมล็ดกาแฟอีกด้านหนึ่งเป็น ภาษาสันสกฤตว่า “น” ด้วยเหตุที่ประชาชนในบริเวณนี้นับถือพุทธศาสนา จึงได้ตั้งชื่อเงินตราที่มีอักษร “น” ว่า “เงินนโม” ที่ทั้งนักสะสมทองคำและวัตถุโบราณในบ้านเรานิยมสะสมนั่นเอง

เหรียญทองคำในอาณาจักรอยุธยา

เหรียญทองคำ

แล้วถ้าพูดถึงทองคำแล้ว จะไม่พูดถึง “อยุธยา” มหานครแห่งทองคำของภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านเราคงเป็นไปไม่ได้ เพราะมีหลักฐานปรากฏมากมายทั้งบันทึก ตลอดจนศิลปวัตถุ โบราณวัตถุมากมายที่ผลิตขึ้นจากทองคำเป็นหลักฐานความรุ่งเรืองของอยุธยา ในบันทึกของอาลักษณ์ชาวเปอร์เซีย (อิหร่าน) เรื่องสำเภากษัตริย์สุลัยมานซึ่งติดตามคณะราชทูตเปอร์เซียเข้ามาเจริญพระราชไมตรี กับกรุงสยาม สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชระหว่างพุทธศักราช ๒๒๒๘ – ๒๒๓๑ ได้กล่าวว่าเรื่องสยามมีทองคำมั่งคั่งเป็นที่ร่ำลือในหมู่พวกพ่อค้านักเดินเรือชาติต่าง ๆ อยุธยานั้นได้รับทองคำเป็นเครื่องราชบรรณาการ ผ่านการจัดสร้างต้นไม้เงินต้นไม้ทองมาถวายเป็นบรรณาการ เช่น ชาวเมืองปัตตานีทำดอกไม้ทองคำส่งมาเป็นบรรณาการแก่พระเจ้ากรุงสยาม 

ของคำของอยุธยานั้นส่วนใหญ่ปรากฏเป็นงานเครื่องประดับสำหรับชนชั้นสูง งานศิลปะประดับประดา และงานศิลปวัตถุที่จัดสร้างถวายเป็นพุทธบูชา โดยเฉพาะกรุงทองวัดราชบูรณะอันเลื่องชื่อ ที่นอกจากพระพิมพ์ พระพุทธรูปเครื่องประดับ สถูปจำลอง ที่ทำจากทองคำแล้ว ยังพบเหรียญทองคำอาหรับ ลักษณะเป็นแผ่นทองจารึกอักษรยาวีร่วมอยู่ด้วย

เหรียญทองคำในสมัยรัตนโกสินทร์

และแม้เวลาจะผ่านยุคผ่านสมัยมานานเท่าใด “เงินเหรียญทองคำ” ก็ไม่เคยห่างหายไปจากประวัติศาสตร์สังคมไทย แม้กระทั่งในยุครัตนโกสินทร์ของเรา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) การค้าขายกับต่างประเทศก็ได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว พ่อค้านานาชาติที่มาค้าขายได้นำเงินเหรียญของตนมาแลกกับเงินพดด้วงจากรัฐบาลสยามเพื่อนำไปซื้อสินค้าจากราษฎร แต่ด้วยเหตุที่เงินพดด้วงผลิตด้วยมือจึงทำให้มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ ส่งผลให้เกิดความไม่สะดวกและการค้าของประเทศเสียประโยชน์ พระองค์จึงมีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนรูปเงินตราของไทยจากเงินพดด้วงเป็นเงินเหรียญ

ในปี พ.ศ. 2400 รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้คณะทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศอังกฤษ ในรัชสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ซึ่งพระนางได้จัดส่งเครื่องทำเหรียญเงินขนาดเล็กเข้ามาถวายเป็นราชบรรณาการ รัชกาลที่ ๔ จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดทำเหรียญกษาปณ์จากเครื่องจักรขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกกันว่า “เหรียญเงินบรรณาการ” ในขณะเดียวกันคณะทูตก็ได้สั่งซื้อเครื่องจักรทำเงินจากบริษัท เทเลอร์ เข้ามาในปลายปี พ.ศ. 2401 จึงเป็นที่มาของการสร้างโรงงานผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติ ในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานนามว่า “โรงกระสาปณ์สิทธิการ” ในสมัยนี้จึงถือว่ามีการใช้เหรียญกษาปณ์แบบสากลนิยมขึ้นเป็นครั้งแรก 

ต่อมารัชกาลที่ 4 ก็ทรงมีพระราชดำริ จัดทำเหรียญทองคำขึ้นควบคู่ไปกับเหรียญเงินตามความนิยมของสากล จึงทรงมีประกาศความว่า 

“…ตามอย่างเมืองอื่นที่เป็นเมืองแผ่นดินใหญ่ ๆ นั้น หลายเมืองเมื่อทองคำมีมากขึ้น ผู้ครองแผ่นดินเมืองนั้น ๆ ก็คิดทำเป็นเหรียญทองมีตราหลวงเป็นสำคัญให้ราษฎรใช้ในการกำหนดราคานั้น  ๆ ไม่ต้องเกี่ยงน้ำหนักแลเนื้อทองตีราคากัน ผู้ใดได้ทองตราทองเหรียญไป เมื่อต้องการเงินมาขอขึ้นเงินต่อคลังหลวง ฤๅเศรษฐีเจ้าทรัพย์ก็ได้ ตามกำหนดซึ่งพิกัดไว้…” 

จึงเกิดคำว่า “ทองตรา” ขึ้น เหรียญทองคำที่ได้จัดทำขึ้น ตามพระราชดำริของรัชกาลที่ 4 มี 3 ขนาด ขนาดใหญ่ ราคา 8 บาท เทียบเท่ากับ เหรียญทองปอนด์สเตอร์ลิงก์ เรียกว่า “ทศ” ขนาดกลางราคา 4 บาท เรียกว่า “พิศ” ส่วนขนาดเล็ก ราคาสิบสลึง เรียกว่า “พัดดึงส์” เทียบเท่า 1 ตำลึงจีน 

ในสมัยต่อมากระทั่งในยุคปัจจุบันก็ยังจัดทำเหรียญทองคำที่ระลึกและเหรียญที่ระลึกขึ้นในโอกาสพิเศษต่าง  ๆ เช่น เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เหรียญที่ระลึกเนื่องใน มหามงคลสมัยพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกในรัชกาลที่ ๙ รวมถึงเหรียญที่ระลึก พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการจัดทำ

ในลักษณะของ “ที่ระลึกเหตุการณ์สำคัญ” แล้ว ยังเป็นลักษณะของสินทรัพย์ที่สามารถสะสมเพื่อความมั่นคงนอกจากการสะสม “ทองคำแท่ง” อีกรูปแบบหนึ่ง ควบคู่กันไป

เหรียญทองคำ

เป็นอย่างไรกันบ้างจ๊ะ รู้แบบนี้แล้วหลายคงคงอยากจะลองเก็บสะสมเหรียญทองคำไว้เป็นทุนเพื่อเก็งกำไรกันบ้างแล้วใช่ไหมล่ะ แต่ก็ติดอยู่ตรงที่ว่าเหรียญที่ระลึกทองคำสมัยนี้จัดสร้างออกมาไม่บ่อย และจัดสร้างทีก็จำนวนน้อย ดังนั้นอย่างที่เจ๊บอกไปแล้วข้างต้นจ้ะ ไม่ต้องรอเหรียญทองคำก็ได้แล้วในสมัยนี้ สะสม “ทองคำแท่ง” ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีสะสมสินทรัพย์เพื่อความมั่นคงด้วยทองคำที่ไม่ยากเลยจ้า เพราะเดี๋ยวนี้แค่มีเงินหลักพันก็สะสมได้ไม่ว่าจะเป็น ทอง 1 สลึง หรือ ทอง 2 สลึง ก็เลือกได้ตามสะดวกเลยล่ะ แต่หากอยากเลือกเลยคันไม้คันมือไม่ไหว ตามมาที่นี่ได้เลยค่ะ คลิก ทอง 1 สลึงราคาถูกที่สุด

แล้วถ้ายังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไงล่ะก็ ขอให้มองมาทางเจ๊ทองช่วยคนนี้ ที่ขอแนะนำ ทองช่วย เว็บไซต์ซื้อทองออนไลน์ที่เสมือนยกร้านทองมาไว้ในในมือคุณ ทั้งทองคำแท่ง ทองรูปพรรณหลากหลายลวดลาย Updte ราคาทองแบบ Real-time จากราคากลางสมาคมค้าทองคำแห่งประเทศไทย ที่ทำให้คุณสะดวกสบายในการซื้อทองได้ทุกที่ ทุกเวลา ให้ได้แบบและลายตรงใจ กับราคาโดนใจ

ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องทองเป็นจัดเต็ม ได้ที่ :