ขายทองแท่ง vs ขายทองรูปพรรณ โดนหักราคาเหมือนกันไหม?

Welcome to WordPress. This is your first post. Edit or delete it, then start writing!

ในทุก ๆ วัน ราคาทองมีการปรับเปลี่ยนขึ้นลงเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว แต่ในช่วงที่ราคาทองขึ้นสูงมาก ทำให้หลาย ๆ คนเลือกที่จะนำทองที่ซื้อเก็บไว้ออกมาขาย และเมื่อเรา ขายทอง เราก็อยากจะได้ราคาทองที่เต็ม ๆ เท่ากับ ราคาทองวันนั้น ใช่ไหมล่ะคะ แต่ที่หลายคนเจอ กลับเป็นการถูกหักราคา มาดูกันดีกว่า ว่าทำไมขายทองแล้วถูกหักราคา แล้วระหว่างทองแท่งกับทองรูปพรรณ โดนหักราคาเหมือนกันด้วยไหม?

เหตุผลที่ทำให้ ขายทอง แล้วโดนหักราคา

ขายทอง

หลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้ว่าเวลาที่เรา ขายทอง กลับคืนเข้าไปให้กับร้านทองนั้น ราคาทองที่เราจะได้ มักจะไม่ได้เท่ากับราคาทองวันนั้น ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ เลยของทั้งทองแท่ง ก็คือ “ค่าเสื่อม” บางทีแต่ละท่านนำ ทอง 1 สลึง มาขายเหมือนกัน แต่เนื่องจากว่าแต่ละท่านมีการเก็บรักษาทองที่แตกต่างกัน ทำให้น้ำหนักทองปัจจุบันตามที่ชั่งกับร้าน ณ ตอนนั้นไม่เท่ากันอีก ราคาทองที่ได้แต่ละคน ก็จะได้ไม่เท่ากันอีก ซึ่งทางร้านก็จะมีวิธีการคำนวณในแบบของตัวเอง จากการหักลบกำไรที่ตัวร้านเองจะได้ และหักลบกับค่ากัดกร่อนของทองคำเก่าที่ร้านต้องไปขายคืนโรงงานต่อ เนื่องจากทางร้านไม่ได้เป็นคนหลอมทองเอง นี่จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เวลาที่เราไปขายทองให้ร้านแล้วเราโดนหักราคาทองออกไปจากราคาทองในวันนั้น

แต่ถ้าเกิดว่า ทองที่เรานำไปขาย ไม่ใช่ทองแท่ง แต่เป็นทองรูปพรรณนั้นจะโดนหักค่าอะไรบ้าง ? สมาคมค้าทองได้ประกาศกำหนดราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณว่าให้ลดจากราคารับซื้อคืนทองคำแท่งได้ไม่เกิน 5% โดยอิงจากราคาทอง ณ ปัจจุบัน ถ้าเกิดซื้อมาจากร้านเดียวกัน แต่จะให้ดี ทองรูปพรรณที่จะนำไปขาย ควรนำไปขายในร้านเดิมที่ซื้อมา เพื่อให้ไม่ถูกหักราคาไปมากกว่าเดิม แต่สุดท้ายแล้ว ก็จะถูกคำนวณรวมไปกับค่าเสื่อมและเปอร์เซ็นต์ของทองคำที่เหลืออยู่ด้วยเช่นกัน

ระหว่าง ขายทอง แท่ง กับ ขายทองรูปพรรณ หักราคาเหมือนกันไหม?

ขายทอง

โดยปกติแล้ว เวลาที่ไปขายทอง ทองรูปพรรณจะมีราคารับซื้อคืนที่ต่ำกว่าราคารับซื้อคืนทองคำแท่ง เนื่องจากว่า ทองรูปพรรณแต่ละชิ้นนั้นมีน้ำประสานทองที่จะต้องใช้เวลาผลิตทองรูปพรรณปนอยู่ด้วย ไม่ใช่เนื้อทองล้วน ๆ แต่อย่างใด แต่ทองแท่งนั้น เป็นน้ำหนักของทองที่มาจากทองล้วน ๆ ราคารับซื้อคืนทองคำแท่งจึงได้ราคาที่ดีกว่านั่นเอง 

ทองที่ดี ที่มีโอกาสขายได้ราคาเต็มแบบไม่โดนหัก ถึงถ้าโดนหักก็จะโดนไม่เยอะมาก มีดังนี้

1.ทองที่มีเปอร์เซ็นต์เต็ม

ปกติทองจะมีเปอร์เซ็นต์อยู่ 2 รูปแบบ คือ ทอง 99.9% ที่จะขายได้ราคาดีกว่า และทอง 96.5% ซึ่งเป็นทองมาตรฐานในไทย ร้านค้าจะทำการตรวจสอบเปอร์เซ็นต์ของทองก่อนตีราคา ถ้าเป็นทองคำแท่งจะมีการปั๊มไว้ที่หน้าของทองแท่งเลย แต่ถ้าทองรูปพรรณ จะสังเกตได้ตามข้อหรือเนื้อแหวนด้านใน หากทองของเรามีเปอร์เซ็นต์ต่ำกว่านี้ บางร้านอาจจะไม่รับซื้อทองของคุณได้เลย

2.น้ำหนักทองต้องครบ

ร้านค้าทองต้องมีการชั่งน้ำหนักเพื่อดูน้ำหนักของทองว่ายังครบเต็มจำนวนมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือเปล่า ทองรูปพรรณจะเป็นทองที่มีโอกาสน้ำหนักหายมากกว่าทองแท่ง เนื่องจากเป็นทองที่มีการใช้งาน สวมใส่มากกว่า ทำให้โดนตัดราคาได้ง่ายกว่าทองแท่ง

3.มีโลโก้หรือตราสัญลักษณ์

ทองที่มีโลโก้จะช่วยการันตีทองได้ว่าเป็นทองที่มีความน่าเชื่อถือและไม่ได้เป็นทองปลอม ทำให้ร้านค้ารู้ที่มาของทองชิ้นนั้นได้ทันที และจะซื้อขายได้ง่ายกว่าทองที่ไม่มีโลโก้หรือตราสัญลักษณ์

อย่างไรก็ตาม หากต้องการจะนำทองไปขายที่ร้านค้าทอง และให้ราคารับซื้อคืนนั้น ได้เท่ากับราคาทองในวันนั้นหรือไม่ถูกหักมากเกินไป เราควรต้องดูแลรักษาทองให้อยู่ดี แม้ในทองรูปพรรณอาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะเป็นทองที่ต้องผ่านการใช้งานเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ก็ต้องมีการทำใจเผื่อไว้ซักนิดนึง ว่าจะต้องโดนหักค่าเสื่อมอย่างแน่นอน ดังนั้นก่อนที่จะขายทองให้กับร้านใดร้านนึง ลองเทียบราคาหลาย ๆ ร้านดูก่อน ร้านไหนหักราคาน้อยสุดและได้ราคาที่ถูกใจแล้วค่อยนำไปขายร้านนั้นก็ยังได้ หรือจะอยากลองคำนวณราคาทองด้วยตัวเองล่วงหน้าคร่าว ๆ ก่อนได้เช่นกัน

อยากคำนวณน้ำหนักและราคาทองเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง 

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่

1.รู้หรือไม่? ทอง 1 สลึง มีน้ำหนักเท่าไหร่

2.ซื้ออะไรดีระหว่าง ทองแท่ง กับ ทองรูปพรรณ

3.ทำไมต้องซื้อทองจากร้านมีประกัน